รู้จักกับ Digitalization และ Digitization คืออะไร มีข้อดีข้อเสียยังไง
ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจและการดำรงชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนสมาร์ทโฟน การจ่ายเงินด้วยระบบออนไลน์ หรือแม้แต่การทำงานแบบ Work from Home ก็ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกเช่นกัน องค์กรจึงต้องปรับตัวตามยุคสมัยเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เรียกว่า “Digitalization” และ “Digitization” ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ลองมาทำความรู้จักกันเลย
Digitalization คืออะไร
Digitalization คือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ (Business Model) ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร เพื่อการพัฒนากระบวนการทำงานที่ส่งผลต่อโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ เช่น การใช้ Social Platform ต่าง ๆ , การใช้ Chatbot, การส่งอีเมล เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ต่างช่วยสามารถบริการลูกค้าได้ดีขึ้น ส่งผลให้การทำงานภายในองค์กรมี Workflow ที่เป็นอัตโนมัติมากขึ้น
Digitization คืออะไร
ส่วน Digitization คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแปลงข้อมูลแบบอนาล็อก (Analog) ให้เป็นระบบดิจิทัล (Digital) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและการนำมาใช้งานให้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น การแปลงเอกสารกระดาษให้เป็นไฟล์ PDF แล้วจัดเก็บในคอมพิวเตอร์, การเปลี่ยนภาพถ่ายให้เป็นไฟล์ภาพ รวมไปถึงการนำ Digital Platform หรือระบบอัตโนมัติต่าง ๆ มาใช้เพื่อลดต้นทุนขององค์กร เป็นต้น
Digital Transformation คืออะไร
Digital Transformation คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของธุรกิจทั้งหมด ให้เข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเป็นกระบวนการที่ปรับเปลี่ยนตั้งแต่ การวางกลยุทธ์ ระบบการทำงาน (Process) วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) การบริหารลูกค้า (Customer Relationship Management) รวมไปถึงวิธีดำเนินธุรกิจด้วยการใช้ Digital Transformation เพื่อให้ก้าวตามทันยุคสมัย เช่น เปลี่ยนจากการขายของที่มีหน้าร้านไปสู่การทำแอปพลิเคชัน Online Shopping เช่น Shopee, Lazada หรือ Amazon เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่าง Digitalization vs Digitization vs Digital Transformation
หลังจากที่ทำความเข้าใจความหมายของทั้ง 3 คำแล้ว สรุปได้ว่า Digitalization และ Digitization เป็นส่วนที่ช่วยให้เกิด Digital Transformation ได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีความแตกต่างกันในด้านของจุดประสงค์และผลลัพธ์ ดังนี้
จุดประสงค์ : Digital Transformation มีจุดประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนภาพรวมของธุรกิจทั้งหมด, Digitalization มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการทำงาน และ Digitization มีจุดประสงค์เพื่อแปลงข้อมูลให้เป็นรูปแบบดิจิทัล
ผลลัพธ์ : Digital Transformation ส่งผลลัพธ์ต่อธุรกิจในทุกด้าน ทั้งการบริหารข้อมูล การบริหารลูกค้า ระบบการทำงาน และด้านอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ Digitalization และ Digitization จะส่งผลลัพธ์ต่อการทำงานภายในองค์กร และการบริการลูกค้านั่นเอง
ซึ่งไม่ใช่ทุกองค์กรที่สามารถทำ Digital Transformation ได้ 100% เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรและเงินทุนเป็นจำนวนมาก หรือในบางธุรกิจที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัลได้ทั้งหมด ก็สามารถนำ Digitalization และ Digitization มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เช่นกัน
ข้อดีของ Digitalization และ Digitization
เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ การค้นหา และการเข้าถึงข้อมูล
เพิ่มความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการทำงาน
เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานระยะยาว
ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience)
ช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ในยุคดิจิทัล
ข้อเสียของ Digitalization และ Digitization
ในช่วงปรับเปลี่ยน ต้องมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาบุคลากร
อาจมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
อาจส่งผลกระทบต่อบางตำแหน่งงานที่ถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ
ต้องมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรและการทำงานของพนักงาน
เทคนิคการทำ Digitalization และ Digitization ให้ประสบผลสำเร็จ
1. กำหนดเป้าหมาย
องค์กรควรกำหนดจุดประสงค์หรือเป้าหมายในการทำ Digitalization และ Digitization อย่างชัดเจน ว่าต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้งานด้านใดบ้าง ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เป็นไปในทิศทางใด และอยากให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งการกำหนดเป้าหมายจะช่วยให้องค์กรสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาได้ตรงจุด
2. ตรวจสอบระบบการทำงาน
ตรวจสอบระบบการทำงานในปัจจุบัน ว่ามีขั้นตอนใดที่ต้องการปรับปรุง มีขั้นตอนใดที่สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้บ้าง เพื่อประมวลผลว่ามีโอกาสทำ Digitalization และ Digitization สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และต้องใช้วิธีการอย่างไรเพื่อให้เป้าหมายเป็นจริง ซึ่งขั้นตอนนี้จะช่วยให้องค์กรมองเห็นข้อผิดพลาดของตนเองชัดขึ้น และหาแนวทางแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
3. เลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจ
หลังจากตรวจสอบระบบการทำงานและหาแนวทางเพื่อพัฒนาระบบแล้ว องค์กรควรพิจารณาถึงการใช้เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์กับธุรกิจ โดยเทคโนโลยีที่นำมาทำ Digitalization และ Digitization จะต้องสอดคล้องกับระบบ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของบุคลากรให้ดียิ่งขึ้น ลดขั้นตอนหรือกระบวนการที่ซับซ้อน และพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน
4. รับ Feedback จากบุคลากร เพื่อปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา
เมื่อเข้าสู่การทำ Digitalization และ Digitization ผู้บริหารหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรขอ Feedback จากบุคลากร เพื่อวิเคราะห์ว่าระบบการทำงานนี้ตอบโจทย์ธุรกิจหรือไม่ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับบุคลากรได้มากน้อยเพียงใด เทคโนโลยีที่นำมาปรับใช้มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร หากบุคลากรมี Feedback ที่ดี องค์กรสามารถทำ Digitalization และ Digitization ต่อไปได้ตามแผนดำเนินการ หากบุคลากรมี Feedback ที่ไม่ดีมากนัก องค์กรควรนำมาพิจารณาเพื่อหาแนวทางใหม่ ๆ และหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจมากขึ้น
สรุป Digitalization และ Digitization
ถึงแม้การทำ Digitalization และ Digitization จะไม่ใช่การทำ Digital Transformation ที่เต็มรูปแบบ แต่ก็เป็นก้าวสำคัญที่พลิกโฉมธุรกิจไปสู่โอกาสใหม่ ๆ ดังนั้นองค์กรควรให้ความสำคัญกับ Digitalization และ Digitization ด้วยการทำ Data Labeling ที่ช่วยจำแนกข้อความตามหมวดหมู่ต่าง ๆ สร้างเสียงจากข้อความและแปลงคำพูดให้เป็นข้อความ ระบุและติดแท็กชื่อวัตถุต่าง ๆ ในรูปภาพหรือวิดีโอ ทำให้ข้อมูลพร้อมใช้งาน และสามารถจัดเก็บได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และการเรียนรู้ของ Machine Learning ได้อีกด้วย
ซึ่งการจัดการข้อมูลที่มีคุณภาพจะส่งผลให้การทำงานภายในองค์กรมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น หากคุณมีคำถามหรือสนใจบริการ Data Labeling จาก Data Wow ปรึกษาเราได้วันนี้ที่ sales@datawow.io หรือโทร 02-024-5560