Data Processing คืออะไร? รวมเรื่องน่ารู้ที่คุณไม่ควรพลาด

Data Processing คืออะไร? รวมเรื่องน่ารู้ที่คุณไม่ควรพลาด

ระบบประมวลผล ตัวช่วยธุรกิจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

เคยสังเกตไหมว่าทำไมองค์กรใหญ่ๆ หรือแบรนด์ที่มีชื่อเสียงถึงได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่โดนใจลูกค้า และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี? หนึ่งในกุญแจสำคัญเลยก็คือ การที่แบรนด์เหล่านั้นมีการเก็บข้อมูลที่เป็นข้อมูลดิบ และนำมาประมวลผล จากนั้นนำข้อมูลมาไปใช้ในการปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงบริการต่างๆ ซึ่งนี่เอง เป็นการช่วยในเรื่องของการตลาดและการวางแผนการขายได้อย่างดี แล้วการประมวลผลข้อมูล (Data Processing) คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับปัจจัยที่เล่าไปเบื้องต้น และทำไมแบรนด์ต่างๆ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้มันเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ วันนี้เราจะพาไปไขคำตอบกัน

การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) คืออะไร?

ตามหลักการแล้ว การประมวลผลข้อมูลคือการนำข้อมูลดิบมาแปลให้เป็นข้อมูลที่สามารถใช้งานได้ โดยที่ข้อมูลดิบเหล่านี้จะต้องถูกรวบรวมและกรองอย่างดี ซึ่งการประมวลผลข้อมูล หรือ Data Processing นั้นคือตัวช่วยที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งจะครอบคลุมไปในส่วนของการเก็บรวบรวม การบันทึก การจัดเก็บ การวางโครงสร้าง การนำข้อมูลมาใช้ เพื่อให้สามารถนำไปประมวลผล วิเคราะห์ จัดเก็บ และนำเสนอได้ในรูปแบบที่ต้องการ สำหรับการใช้งานระบบประมวลผลนั้น จะได้ทีม Data Science เข้ามาเป็นผู้ดูแล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อข้อมูล และเพื่อช่วยให้มีการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบมากที่สุด

ข้อมูลประเภทไหนที่ต้องนำมาประมวลผล

ในการประมวลผล โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการนำข้อมูลทั้งในรูปแบบของตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ คลิปวิดีโอ หรือแม้กระทั่งเสียงก็ตาม มาใช้ในการประมวลผล ซึ่งก่อนที่จะทำการเลือกรูปแบบข้อมูลนั้น เราจำเป็นจะต้องรู้ก่อนว่าต้องการผลลัพธ์ในด้านไหน เช่น ต้องการรู้เกี่ยวกับความต้องการของตลาด คู่แข่ง ไปจนถึงการวางแผนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งนอกจากจะช่วยตอบในสิ่งที่เราอยากรู้แล้ว ยังจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด แถมยังช่วยคาดการณ์ถึงตลาดในอนาคตได้ด้วย สำหรับการประมวลผลข้อมูลนั้น จำเป็นที่จะต้องประมวลผลตามข้อกำหนดการประมวลผล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และการประมวลผลข้อมูลนั้นๆ จะต้องเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย

ขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล

1. การเก็บรวบรวมข้อมูล

ก่อนที่จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบประมวลผล สิ่งแรกที่ต้องให้ความสำคัญก็คือการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งในขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลมาจากแหล่งต่างๆ รวมไปถึง Data Lakes หรือข้อมูลทั้งหมดที่มีการนำมาจากต้นทางโดยไม่มีการเปลี่ยนรูปของข้อมูล และ Data Warehouse หรือข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมเอาไว้เฉพาะข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ที่เก็บรวบรวม นำมาใช้ และเพื่อประมวลผลต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพสูงสุดเท่าที่สามารถทำได้ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่าการนำข้อมูลเข้าระบบประมวลผลนั้น ควรที่จะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ และสามารถใช้งานได้จริง

2. การเตรียมข้อมูล

การเตรียมข้อมูลก็เหมือนกับการนำข้อมูลทั้งหมดมาใส่กระจาดล้างน้ำ เพื่อคัดเฉพาะข้อมูลที่ดีที่สุด เหมาะสมมากที่สุด เพื่อนำมาใช้ในการประมวลผลในขั้นต่อๆ ไป โดยหลังจากที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว ลำดับขั้นต่อไปก็คือการจัดเตรียมข้อมูลก่อนนำไปประมวลผลต่อ ซึ่งในการจัดเตรียมข้อมูลในขั้นตอนนี้ จะเป็นมองหาข้อมูลที่ผิดพลาด และกำจัดข้อมูลที่ไม่ดี มีความซับซ้อน ขาดหาย หรือไม่ถูกต้องให้ออกไป จากนั้นเมื่อล้างข้อมูลดิบและจัดเรียงข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จึงเข้าสู่ขั้นตอนของการจัดเตรียมข้อมูล โดยจะต้องทำให้แน่ใจว่าข้อมูลที่คัดไว้เป็นข้อมูลคุณภาพสูง เหมาะต่อการนำไปวิเคราะห์ ก่อนจะนำเข้าระบบประมวลผลต่อไป

3. การป้อนข้อมูล

หลังจากที่จัดเตรียมข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่สะอาดจะถูกป้อนไปยังปลายทาง ไม่ว่าจะเป็น CRM หรือคลังข้อมูลต่างๆ ก่อนจะแปลเป็นภาษาที่เครื่องสามารถอ่านและเข้าใจได้ ซึ่งรูปแบบของการป้อนข้อมูลจะเป็นการป้อนผ่านแป้นพิมพ์ เครื่องสแกน หรือแหล่งป้อนข้อมูลอื่นๆ

4. การประมวลผลข้อมูล

เมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องแล้ว ระบบประมวลผลจะทำการรันข้อมูลโดยใช้อัลกอริทึมทั้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ในการประมวลผลเป็นหลัก เพื่อสร้างผลลัพธ์ให้ตรงกับความต้องการนั้นๆ โดยรายละเอียดอาจจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล และวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้งาน

5. การตีความข้อมูล

เพื่อให้นำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างดี การตีความข้อมูลหลังจากที่ผ่านการประมวลผลจะช่วยให้คุณสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งานได้ ซึ่งการตีความข้อมูลจะถูกตีความออกมาในรูปแบบของกราฟ วิดีโอ รูปภาพ เอกสาร เป็นต้น เพื่อให้สามารถอ่าน จัดเก็บ ใช้งาน และประมวลผลเพิ่มเติมได้ในครั้งต่อไปได้

6. การจัดเก็บข้อมูล

การจัดเก็บข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพื่อนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วไปใช้ทันทีหรือจัดเก็บไว้ใช้สำหรับอนาคตก็ตาม โดยที่ผู้ประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลนั้นจะต้องจัดเก็บไว้อย่างเหมาะสม และมีการป้องกันข้อมูลเหล่านั้นเอาไว้อย่างดี ซึ่งสิ่งสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลก็คือการที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

เพื่อลดปัญหาและความวุ่นวายในการประมวลผลข้อมูลภายในองค์กร Data Wow เรามีให้บริการ Data Processing เพื่อเป็นตัวช่วยในการเพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในการทำงาน นอกจากนี้แล้ว การใช้งานระบบประมวลผลจากเรา จะช่วยลดข้อผิดพลาดในกระบวนการทำงานในธุรกิจของคุณได้อย่างตรงจุด พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการให้ดียิ่งขึ้น ติดต่อทีมของเราได้ที่นี่ sales@datawow.io หรือโทร: 02-024-5560

ติดต่อเรา

ชื่อ*

ชื่อบริษัท*

ชื่อตำแหน่ง

เบอร์โทรศัพท์*

อีเมล*

ข้อความ

ฉันต้องการรับโปรโมชันและข่าวสารทางการตลาดเกี่ยวกับ Data Wow และบริการอื่น ๆ จากเรา บริษัทในเครือ บริษัทย่อยและพันธมิตรทางธุรกิจ ​(คุณสามารถยกเลิกได้ทุกเมื่อ)
ที่ตั้งบริษัท

1778 อาคารซัมเมอร์ฮับ ออฟฟิศ, ชั้น 6
ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร 10110
ประเทศไทย

ติดตามเรา
ISO ISMISO PIM